รายการบล็อกของฉัน

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

1. ให้อธิบายถึงแนวคิดของ มงเตสกิเออ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสในการจัดตั้งองค์กรต่างๆ ขึ้นมารองรับการใช้อำนาจอธิปไตย พร้อมทั้งอธิบายถึงหลักการของระบบการปกครองหลักทั้ง ระบบ ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดดังกล่าวมาตามที่เข้าใจ พร้อมยกตัวอย่างประกอบโดยสังเขป
มงเตสกิเออ นักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสได้ให้แนวความคิดในเรื่องของอำนาจอธิปไตยไว้ในหนังสือชื่อว่า เจตนารมทางกฎหมาย ว่า อำนาจอธิปไตยที่รัฐได้รับจากประชาชน เพื่อทำหน้าที่ในการปกครองประเทศนั้นมีอยู่ด้วยกัน ประการ คือ
1. อำนาจนิติบัญญัติ เป็นอำนาจในการออกกฎหมายมาใช้บังคับกับประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ซึ่งหมายถึง รัฐสภา
2. อำนาจบริหาร เป็นอำนาจที่จะจัดให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายหรือนำเอากฎหมายหรือกฎเกณฑ์ที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้บัญญัติขึ้นมาบังคับใช้กับประชาชน ซึ่งได้แก่ ฝ่ายบริหาร หรือคณะรัฐบาล
3. อำนาจตุลาการ เป็นอำนาจในการตัดสินและพิพากษาอรรถคดีต่างๆ ซึ่งได้แก่ ศาล
มงเตสกิเออ ถือว่า อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดของรัฐ โดยอำนาจทั้งสามควรจะต้องแบ่งแยกออกจากกันเป็นอิสระชัดเจน และถ่วงดุลซึ่งกันและกัน เพราะถึงแม้ว่าผู้ใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐจะมาจากประชาชนโดยการเลือกตั้งก็ตาม แต่ก็ไม่มีอะไรที่เป็นหลักประกันว่า ผู้ที่ใช้อำนาจของประเทศจะไม่หลงในอำนาจโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าไม่มีการแบ่งแยกอำนาจดังกล่าวออกจากกัน ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ผู้ทำการปกครองประเทศ ซึ่งเป็นคณะบุคคลฝ่ายเดียวใช้อำนาจต่างๆ โดยไม่มีขอบเขต
กล่าวคือ ถ้าฝ่ายบริหารออกกฎหมายได้เองด้วยแล้ว กฎหมายที่ออกมาอาจจะไม่เป็นธรรม แต่จะอยู่ในรูปที่ทำให้การบริหารเป็นไปโดยสะดวกและถ้าให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจในการตัดสินชี้ขาดคดีอีกด้วย ก็จะทำให้อำนาจอธิปไตยของรัฐตกอยู่กับคณะบุคคลฝ่ายเดียว ซึ่งการปกครองประเทศก็จะกลายเป็นการปกครองที่ผิดรูปไปจากการปกครองในระบบประชาธิปไตย เพราะเป็นการรวมอำนาจต่างๆ ให้ขึ้นอยู่กับคณะบุคคลเพียงฝ่ายเดียว
นั่นคือ มงเตสกิเออ จึงมีความเห็นว่า ต้องมีการสร้างดุลภาพแห่งอำนาจ คือ มีการถ่วงดุลแห่งอำนาจ หมายความว่า ในการจัดตั้งอำนาจแต่ละฝ่ายต้องพยายามจัดให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ดังคำกล่าวที่ว่า อำนาจเท่านั้นที่จะหยุดยั้งอำนาจด้วยกันได้
จากแนวคิดของมงเตสกิเออนี้ ทำให้เกิดการปกครองขึ้น ระบบ คือ
1. ระบบรัฐสภา ในระบบรัฐสภาได้มีการคำนึงถึงการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกันนี้จึงได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญให้ฝ่ายนิติบัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎร มีมาตรการที่จะล้มล้างฝ่ายบริหารได้ ล้มล้างในที่นี้ คือ ยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติเปิดอภิปรายฝ่ายบริหารได้อย่างเดียวเท่านั้น รัฐธรรมนูญยังให้อำนาจฝ่ายบริหารในการที่โต้ตอบฝ่ายนิติบัญญัติ โดยการยุบสภา ซึ่งตรงนี้ก็คือ แนวความคิดในเรื่องอำนาจเท่านั้นที่จะหยุดยั้งอำนาจเดียวกันได้ หรือ การถ่วงดุลซึ่งกันและกัน
2. ระบบประธานาธิบดี ของสหรัฐอเมริกา การจัดตั้งองค์กรทั้ง องค์กรนั้นมีการจัดตั้งที่เป็นอิสระจากันมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ส่งผลให้เขาบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่า เมื่อฝ่ายบริหารได้รับเลือกตั้งแล้ว ประธานาธิบดีหรือรองประธานาธิบดีมาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อม จะต้องรอดพ้นจากการถูกขับไล่โดยการลงมติไม่ไว้วางใจจากฝ่ายนิติบัญญัติรัฐสภา กล่าวคือ สภาผู้แทนราษฎรในสหรัฐอเมริกาไม่มีสิทธิเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจตัวประธานาธิบดี และในขณะเดียวกันฝ่ายบริหารหรือประธานาธิบดีก็จะประกาศยุบสภาไม่ได้เช่นกัน จึงถือว่าการถ่วงดุลอำนาจในระบบประธานาธิบดีนี้ก็มีการแบ่งแยกอำนาจกันค่อนข้างเด็ดขาด
3. ระบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี ประเทศฝรั่งเศส ได้นำการปกครองทั้งสองระบบข้างต้นมาใช้ในรูปแบบของตน โดยได้นำเอาส่วนดีของทั้งสองระบบมาผสมผสานกันจึงเกิดระบบการปกครองนี้ขึ้นมาโดยรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศสได้นำมาบัญญัติจำแนกฝ่ายบริหารออกเป็นสองส่วน คือ
ส่วนแรก คือ ประธานาธิบดี ไม่ต้องรับผิดชอบต่อสภา นั่นคือ ไม่ต้องกลัวว่าสภาจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ เหมือนกันกับระบบประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา
ส่วนที่สอง คือ คณะรัฐบาล ได้บัญญัติให้คณะรัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อสภาเหมือนกันกับการปกครองในระบบรัฐสภา
เพราะฉะนั้น ฝ่ายนิติบัญญัติหรือสภาผู้แทนราษฎรของฝรั่งเศสอาจเปิดญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีได้แต่เปิดอภิปรายตัวประธานาธิบดีไม่ได้ ซึ่งตรงนี้ก็คือการเอาการถ่วงดุลอำนาจของทั้งสองระบบมารวมเข้าด้วยกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น